ไวนิล วัสดุสำหรับงานพิมพ์ป้ายโฆษณา

ไวนิล วัสดุสำหรับงานพิมพ์ป้ายโฆษณา 

สำหรับในเรื่องของงานพิมพ์ทั่วไป หลายๆ ท่านคงจะคุ้นชื่อ ไวนิล (Vinyl) กันเป็นอย่างดีใช่ไหมครับ ที่นี้เรามาทำความรู้จักไวนิลกันสักหน่อยดีกว่า ว่าไวนิลคืออะไร และมีแบบไหนบ้าง แต่ละแบบมีความเหมาะสมกับการเลือกนำไปใช้งานกับงานพิมพ์แบบใดบ้าง  

**ไวนิล (Vinyl) นั่นทำมาจาก โพลีเอสเตอร์ผสมกับสารเพิ่มประสิทธิภาพ อาทิเพิ่มความแข็งแรง ทนทานต่อแรงกระแทก ทนทานต่อแสงแดด ความร้อนและสภาวะอากาศ นอกจากไวนิลจะมีความทนทานต่อแสงแดดแล้ว ยังสามารถป้องกันปลวกหรือแมลงกันเจาะ ไม่เกิดสนิม ไม่โค้งงอผิดรูป กันการรั่วซึมของน้ำ และไม่ติดไฟ จึงทำให้ไวนิลถูกนำมาใช้ในงานพิมพ์ป้ายโฆษณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเภทงานกลางแจ้ง Outdoor  (**ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก สวทช.)

สำหรับไวนิลนั้น ก็มีหลายรูปแบบ และคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทผู้ผลิตจะเน้นไปทางด้านใด ซึ่งในขั้นตอนของการผลิตแต่ละแบบนั้น ก็จะแตกต่างกันตรงปริมาณของโพลีเอสเตอร์ และสารเพิ่มประสิทธิภาพที่ผสมลงไป โดยหลักๆ แล้วในวงการงานพิมพ์ป้ายโฆษณาที่ใช้งานกันบ่อยๆ ก็จะเป็น ไวนิลผิวเรียบทึบแสง (Frontlift) และโปร่งแสง (Blacklift)

ไวนิลทึบแสง (Frontlift) คือไวนิลที่มีสารเคลือบด้านหลัง เมื่อเรายกส่องกับแสงไฟ แสงแดดจะไม่สามารถมองเห็นแสงไฟ แบ่งเป็น

  • แบบหลังขาว ใช้สำหรับงานพิมพ์ทั่วไป
  • แบบหลังเทา ใช้สำหรับงานพิมพ์ทั่วไป เหมาะสำหรับงานที่ติดตั้งย้อนแสงเพื่อลดการลอดผ่านของแสง และเหมาะกับงานงานเย็บประกบเพื่อป้องกันการซ้อนกันของภาพ
  • แบบหลังดำ ใช้สำหรับงานพิมพ์ทั่วไป เหมาะสำหรับงานที่ติดตั้งย้อนแสง และที่แสงแดดจัด เพื่อลดการลอดผ่านของแสง และงานเย็บประกบ เพื่อป้องกันการซ้อนกันของภาพ อาทิ งานธงญี่ปุ่น แบนเนอร์ดิสเพลย์ 2 ด้าน
  • แบบที่พิมพ์ได้สองด้าน ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการ Display ทั้งสองด้าน โดยที่ไม่ต้องใช้การเย็บประกบ อาทิ คูนิล่อน บล็อคเอ้าท์ ซึ่งจะเหมาะกับงานสกรีน หรือพิมพ์อิงค์เจท หมึกยูวี

ไวนิลโปร่งแสง (Blacklift) คือไวนิลที่มีสารเคลือบด้านหลัง เมื่อเรายกส่องกับแสงไฟ จะสามารถเห็นแสงไฟ จะแบ่งเป็น

  • แบบโปร่งแสง คือไวนิลที่มีสารเคลือบด้านหลังบางกว่าไวนิลแบบทึบแสง เมื่อเวลาเรายกส่องกับไฟแล้วจะมองเห็นแสงได้ เหมาะกับงานที่ต้องการให้แสงลอดผ่าน อาทิ งานป้ายไฟ กล่องไฟ ตู้ไฟ เป็นต้น ซึ่งจะต้องพิมพ์งานด้วยหมึกที่มีความหนาแน่นสูง อาทิ หมึกยูวี เพื่อให้สีไม่ Drop เมื่อมีการเปิดตู้ไฟ
  • แบบตาข่าย เหมาะสำหรับงานที่ต้องการให้แสงผ่านได้ และงานที่ต้องการลดแรงปะทะของลม ซึ่งแต่ละแบบนั้น ระยะของช่องว่างตาข่ายก็จะแตกต่างกันไป นิยมใช้กับงานติดตั้งภายนอกอาคาร ที่เป็นกระจก  

ทั้งนี้ไวนิลแต่ละแบบก็จะมีมาตรฐานความหนา และน้ำหนักที่แตกต่างกันไป โดยที่เราพบเจอบ่อยๆ อย่างเช่น มีการระบุสเปควัสดุไวนิลว่า

ไวนิลทึบแสง 400G  300Dx200D หมายถึง ไวนิลทึบแสง มีน้ำหนัก 400 กรัม ต่อตารางเมตร ส่วนค่า 300Dx200D คือ จำนวนเส้นใยเส้นเล็กๆ ที่มัดรวมกันเป็นเส้นใหญ่ แนวนอนมีจำนวน 300 เส้น แนวตั้งมีจำนวน 200 เส้น เป็นต้น ซึ่งค่าเหล่านี้จะบ่งบอกถึงคุณสมบัติของไวนิล เช่น ค่า G จะบอกถึงความหนาบางของไวนิล ส่วนค่า D จะบอกถึงค่าความแข็งแรง และทนทานของไวนิล ค่า G น้อย ไวนิลก็จะบาง ค่า G มาก ไวนิลก็จะหนา เป็นต้น

เมื่อเรารู้จักไวนิลแล้ว เราก็สามารถเลือกไวนิลให้เหมาะสมกับรูปแบบงานพิมพ์ของเราได้แล้วนะครับ การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับงานนั้น นอกจากจะได้งานที่ตรงตามความต้องการแล้ว ยังสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต และติดตั้งได้อีกด้วยไวนิลจึงเป็นที่นิยม และใช้งานกันแพร่หลายในปัจจุบัน 

สนใจสอบถามข้อมูล ดูรายละเอียดงานป้ายเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.ivorytower.co.th/ป้ายไวนิล หรือต้องการติดต่อเราได้ที่ Line ID @ivorytower นะครับ

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 680,959